วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โป๊ยเซียน

โป๊ยเซียน : สุดยอดไม้ดอกแห่งความนับถือของชาวจีน เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ คนไทยที่นิยมปลูกไม้ดอกส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกับกระแส "ลีลาวดีฟีเวอร์" ต่างจากเมื่อครั้งที่เรียกชื่อว่า "ลั่นทม" อย่างสิ้นเชิง ทำให้นึกถึงไม้ดอกชนิดหนึ่งที่คนไทยมากมายเคยเสาะหามาปลูกกันอย่างกว้าง ขวางอยู่หลายปีก่อนที่จะค่อยๆ ลดความนิยมลงไป จนอยู่ในระดับปกติเช่นปัจจุบัน ไม้ดอกชนิดที่กล่าวถึงนั้น ก็คือโป๊ยเซียนนั่นเองโป๊ยเซียน ต้นไม้แห่งผู้วิเศษทั้งแปดโป๊ยเซียน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia Milii Desmoul อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมแข็งปกคลุมอยู่ทั่วทั้งต้น ใบ รูปร่างยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ส่วนใหญ่ใบจะเหลืออยู่บริเวณปลายกิ่งเป็นกระจุก ไม่แตกกิ่งก้านมากนักดอก ออกเป็นกลุ่ม และมักมีจำนวนคู่ ตั้งแต่ ๒ ดอกขึ้นไปถึง ๓๒ ดอก แต่ละดอกมีกลีบแบนอยู่ตรงข้ามกัน ๑ กลีบ แต่ละกลีบรูปร่างคล้ายไต ปกติดอกกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร มีสีแดง ชมพู เหลืองอ่อน ฯลฯ มีเกสรตัวผู้และรังไข่อยู่ตรงกลางดอก อาจติดผลและมีเมล็ดขยายพันธุ์ได้ แต่ปกตินิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เมื่อหักกิ่งจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา โป๊ยเซียนเป็นต้นไม้ที่นิยม ปลูกในประเทศจีนมาหลายพันปี แต่นักพฤกษศาสตร์ยืนยันว่า แหล่งกำเนิดดั้งเดิมของโป๊ยเซียนอยู่ที่เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งโป๊ยเซียนดั้งเดิมอาจมีลำต้นสูงถึง ๒ เมตร และดอกมีสีแดงอ่อน จนกระทั่งถูกคัดเลือกปรับปรุงจนเป็นต้นโป๊ยเซียนที่มี ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถาง และมีกลีบดอกเพิ่มมากขึ้น เป็นที่เคารพของชาวจีนสืบมาหลายพันปีจนปัจจุบัน เหตุที่ชาวจีนนับถือต้นโป๊ยเซียน เนื่องจากคำว่าโป๊ยเซียนที่ชาวจีนนำมาตั้งเป็นชื่อต้นไม้ชนิดนี้ คือชื่อของผู้วิเศษที่มีชื่อเสียงทั้งแปดของชาวจีน ประกอบด้วย ทิก๋วยลี้, ฮั่นเจงหลี, ลื่อท่งปิน, เจียงกั๋วเล้า, น่าไชหัว, ฮ่อเซียนโกว, ฮั่นเซียงจื๊อ และเช่าก๊กกู๋ สำหรับชาวจีนแต้จิ๋วเชื่อว่าโป๊ยเซียนเป็นต้นไม้นำโชคลาภ ป้องกันภยันตรายแก่ผู้ปลูกนิยมปลูกไว้ในกระถางลายครามที่เขียนรูปโป๊ยเซียน เอาไว้โดยรอบ คนไทยเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่าโป๊ยเซียนเช่นเดียวกับคนจีน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Crown of Thorns หรือมงกุฎหนาม

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis L.f.

ชื่อ สามัญ : Pink Shower , Horse cassia

วงศ์ : LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก เปลือก เมล็ด

สรรพคุณ :

  • เนื้อในฝัก - ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
    ขนาดรับประทาน - รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้

  • เปลือก และ เมล็ด - รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี